ล้ง [LHONG] 1919 ที่เที่ยวใหม่แกะกล่องริมน้ำสุดชิล พร้อมแผนที่

ล้ง [LHONG] 1919 ชั่วโมงนี้ต้องยกให้เป็นที่เที่ยวแห่งใหม่ที่มาแรงต้องไปเช็คอินกันเลย ใครอยากตามไปส่องขึ้นขบวนตามมากันเลย
ล้ง [LHONG] 1919 เป็นพื้นที่เก่าแก่ของตระกูล “หวั่งหลี” มหาเศรษฐีของเมืองไทย พื้นที่สวยริมแม่น้ำเจ้าพระยานี้ยังมียังมีความสำคัญกับประวัติศาสตร์ไทยมาตั้งแต่สมัย ร.4 ในนามท่าเรือ “ฮวย จุ่ง ล้ง” ซึ่งถือเป็นจุดเชื่อมความสัมพันธ์การค้าไทย-จีนอย่างแน่นแฟ้นมากว่า 167 ปี
วันนี้ได้รับการบูรณะโดยฝีมือคุณรุจิราภารณ์ หวั่งหลี และพร้อมเปิดให้เราเข้าชมแล้ว
มาเที่ยวริมน้ำทั้งที เราก็ควรนั่งเรื่อมาชม ซึ่งวันนี้เราเลือกนั่งเรือข้ามฟากจากท่าเรื่อสี่พระยา (4 บาท) ข้ามฝั่งมาลงที่ท่าเรือคลองสาน แล้วเดินออกมาที่ถนนใหญ่ ตรงนั้นจะมีวินมอเตอร์ไซค์ บอกเค้าว่า ล้ง 1919 หรือบ้านหวั่งหลี (20 บาท) การเดินทางโดยทางเรือชั้นขอแนะนำเลย เพราะทั้งได้บรรยากาศ ได้รับลม และยังไม่ต้องเสียเวลาวนหาที่จอดรถด้วย แต่ถ้าใครจะขับรถไปก็หาไม่ยากเพราะเค้ามีป้ายบอกทางตลอด (ดูแผนที่ได้ที่ท้ายรีวิวนี้จร้าาา)
มาถึงแล้ว ด้านหน้าก็จะเป็นแบบนี้ ถ่ายรูปกันได้ตั้งแต่จุดนี้เลยนะ
เราเลือกมาถึงแต่เช้าของวันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน เลย เพราะอยากได้ภาพคนน้อยๆ
เมื่อมาถึงสิ่งแรก เราตรงไปไหว้ศาลเจ้าแม่หม่าโจว [Mazu] ที่ประดิษฐานเคียงคู่ “ฮวง จุ่ง ล้ง” มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 กระถางธูปที่ทำใหม่ ใหญ่โตอลังการมาก และถือเป็นอีกจุดถ่ายรูปที่ทุกคนต้องไม่พลาด
เจ้าแม่หม่าโจวแต่เดิมประดิษฐานอยู่ห้องด้านล่างนี้แหละ แต่ปัจจุบันย้ายขึ้นไปชั้น 2 แล้ว ทำจากไม้มี 3 ปาง ปางเด็กสาวให้พรด้านการขอบุตร ปางผู้ใหญ่ให้พรเรื่องเงินทองและการค้าขาย ปางผู้สูงอายุ เชื่อว่าท่านประทับอยู่บนและมีจิตแมตตาสูง
ล้ง 1919 ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมจีนซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน พื้นและเครื่องหลังคาสร้างจากไม้เสาสร้างลักษณะป่องกลางที่คนจีนนิยม ลักษณะเป็นหมู่อาคารแบบ “ซาน เหอ หยวน” (三 合 院) ซึ่งเป็นการออกแบบวางผังอาคารในแบบจีนโบราณ ลักษณะอาคาร 3 หลัง เชื่อมต่อกัน 3 ด้าน เป็นผังรูปทรงตัว U มีพื้นที่ว่างตรงกลางระหว่างอาคารทั้งสามหลังเป็นลานอเนกประสงค์ อาคารประธาน ด้านในเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าแม่หม่าโจ้ว (MAZU) คลองสาน ส่วนอาคารอีก 2 หลัง ด้านข้างใช้สำหรับเป็นอาคารสำนักงานและโกดังสินค้า
ขึ้นมาชั้น 2 ที่เป็นที่ประดิษฐานของเจ้าแม่หม่าโจวตอนนี้ แต่ชั้นนี้ห้ามจุดธูปนะ
ภาพจิตรกรรมฝาผนังจีน (Mural Paintings) ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระกรุณาลงฝีพระหัตถ์แต่งแต้มงานบูรณะและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลงพระนามาภิไธยด้วยหมึกจีนบนผนังเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
ที่ประดิษฐานเจ้าแม่หม่าโจว [Mazu] ตอนนี้
ระหว่างที่เดินชมชั้นได้คุยกับเจ้าหน้าที่ด้วยเค้าบอกว่าเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ที่นี่เป็นคนแถวนี้ เรารู้สึกได้ถึงความผูกพันและภูมิใจในการเล่าเรื่องต่างๆ และในรูปนี้เค้ายังถามว่า เห็นมังกรมั๊ย
